ทดสอบเข็ม
Tags: ทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็ม, ทดสอบความยาวเสาเข็ม, dynamic load test, seismic test, ทดสอบน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม
SEISMIC TEST
การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี Seismic Test (Low Strain Pile Integrity Test)
สามารถทำการทดสอบได้ทั้งเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงและเสาเข็มเจาะหล่อในที่ เป็นการประเมินและ ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็มในเบื้องต้น เช่น มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่หน้าตัดเนื่องจากเกิดรอยคอดหรือบวม (Neck or Bulge) เกิดโพรง (Void) การแตกหักของเสาเข็มตอก เป็นต้น ซึ่งการทดสอบจะทำการติดตั้งตัวรับสัญญาณบนหัวเสาเข็มที่มีความสะอาด มีผิวที่เรียบแข็งและแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะบนหัวเสาเข็มด้วย ค้อนทดสอบ (PIT Hand-Held Hammer) โดยแรงกระทำที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดคลื่นความเค้นอัด (Low-Strain Compression Wave) เดินทางลงไปในเสาเข็ม และเกิดการสะท้อนกลับขึ้นมาของคลื่นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับพื้นที่หน้าตัด โมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุ และความหนาแน่น ความเร็วคลื่นที่เกิดขึ้นในเนื้อคอนกรีตนี้ จะถูกบันทึกโดยตัวรับสัญญาณ และเก็บข้อมูลรวมทั้งแสดงผลในรูปแบบกราฟของความเร็วสัมพันธ์กับระยะเวลา ผ่านเครื่องทดสอบ (Pile Integrity Tester) จากนั้นจะนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ และประมวลผลทดสอบด้วยโปรแกรม PET ตามมาตรฐาน ASTM D-5882
การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี
Seismic Test (Low Strain Pile Integrity Test)
การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มจะใช้เครื่องมือทดสอบ
Pile Echo Tester เป็นตัวบันทึกสัญญาณที่ได้จากการทดสอบตัวรับสัญญาณความเร่ง
(Accelerometer) เป็นหัวสัญญาณที่มีความไวสูงมาก ซึ่งสามารถแปลงสัญญาณจาก
Analog Data ไปเป็น Digital Data ค้อนที่ได้รับการออกแบบพิเศษ
(Hand Held Hammer) ทำหน้าที่เป็นตัวให้พลังงานความเค้นการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
กระทำโดยการติดตั้งเครื่องมือที่ตัวเสาเข็มที่จะทำการทดสอบ โดยการเปิดหน้าดิน
เตรียมหัวเสาเข็มโดยการทำความสะอาดและปรับหัวสัมผัสให้เรียบการทดสอบการกระทำโดยการติดตั้งตัวรับสัญญาณที่หัวเสาเข็ม
และให้พลังงานความเค้นโดยใช้ค้อน ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นของความเค้นส่งไปตลอดความยาวของเสาเข็ม
DYNAMIC LOAD TEST
การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม DYNAMIC LOAD TEST
เป็นการทดสอบโดยวิธี Restrike Test วิธีนี้เป็นการทดสอบเพื่อประเมินการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (DYNAMIC LOAD TEST) โดยเป็นการทดสอบแบบ Restrike โดยการวัดค่าแรง (Force) และความเร็ว (Velocity) จากสัญญาณสะท้อนคลื่นความเค้น (Stress Wave) ขณะที่มีการกระแทกของลูกตุ้มเหล็ก แล้วประเมินกำลังรับน้ำหนักด้วยวิธี Case Method โดยโปรแกรม Case Pile Wave Analysis Program - Continuous method (CAPWAPC) โดยใช้มาตรฐานการทดสอบ ASTM D 4945-17
การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม DYNAMIC LOAD TEST
ขั้นตอนโดยทำการเจาะรู
ที่ด้านข้างของเสาเข็มทดสอบโดยให้ตำแหน่งสูงกว่าระดับดินประมาณ 0.80 เมตร
โดยเจาะ 2 ด้าน ๆ ละ
3 รู ให้ตรงข้ามกัน
และทำการติดตั้งอุปกรณ์วัด 2 ประเภท คือ Strain
gauges 2 ชุด และ Accelerometer 2 ชุด ด้วย Expansion
blot ด้านละ 1 ชุด
และต่อสายอุปกรณ์เข้ากับเครื่อง Pile Driving Analyzer (PDA) และทำการปรับค่า Initial tension ใน Strain
gauge ทั้ง 2 ชุด ให้มีค่าในตำแหน่งที่เหมาะสม
แล้วทำการทดสอบโดยใช้เครนพร้อมตุ้มทดสอบ โดยยกปล่อยกระแทกลงบนหัวเสาเข็มทดสอบ
โดยใช้ไม้อัดปูรองหัวเสาเข็มพร้อมกระสอบหนาบนหัวเสาเข็มโดยแต่ละครั้งที่ปล่อยกระแทกจะวัดค่าการทรุดตัวในแต่ละครั้งและตรวจสอบสัญญาณที่เกิดขึ้น
โดยสังเกตการทรุดตัวของเสาเข็มในภาคสนามในแต่ละครั้งที่ปล่อยตุ้มกระแทกหัวเสาเข็ม
โดยเก็บสัญญาณนำไปทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม CAPWAPS เพื่อสรุปหาค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่ถูกต้อง