เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง - รับแก้ไขอาคารทรุด

ควบคุมการแก้ไขอาคารทรุด ต่อเติมทรุด บ้านทรุด
โดยวิศวกรและเป็นไปตามหลักวิศวกรรม

N.S. Plus Engineering เราชำนาญงานเสริมฐานราก แก้ไขอาคารทรุด อาคารทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน
โรงงาน ต่อเติมทรุด บ้านทรุด เพื่อให้อาคารกลับสู่สภาพปกติและปลอดภัยในการใช้งาน
ภายใต้การควบคุมงานขากวิศวกรที่ชานาญด้านนี้มามากกว่า 10 ปี พร้อมรับประกันผลงาน 5 ปี
 

สนใจ แก้ไขอาคารทรุด ติดต่อเรา

 

ขั้นตอนการแก้ไขบ้านทรุด อาคารทรุด

Underpinning เสริมฐานรากอาคาร
การเสริมฐานรากด้วยวิธี Underpinning (หนุนฐานรากใต้อาคาร) เป็นการแก้ไขหรือเสริมกำลังโครงสร้างใต้อาคารที่ได้ทำการก่อสร้าง หรือมีการใช้งานแล้ว โดยโครงสร้างดังกล่าวอาจจะมีปัญหาหรือไม่ก็ได้ เช่น

  1. เกิดการก่อสร้างผิดพลาด เช่น ติดตั้งเสาเข็มผิดขนาด
  2. การออกแบบที่ผิดพลาด เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้
  3. ต้องการยกอาคาร เช่นหนีน้ำ ยกให้สูงกว่าถนน
  4. ต้องการทำห้องใต้ดิน
  5. อาคารเอียงตัว หรือทรุดตัว
  6. มีการก่อสร้างข้างเคียง แล้วทำให้ดินเคลื่อนตัว บ้านเอียง
  7. เปลี่ยนแปลงการใช้งาน ทำให้น้ำหนักลงเสาเข็มเพิ่มมากขึ้น
  8. ต่อเติมทรุด เนื่องจากเสาเข็มส่วนต่อเติมอยู่ในชั้นดินคนละชั้นกับตัวอาคารเดิม

ปัจจุบันปัญหาการทรุดตัวของอาคาร เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งซึ่งมีผลโดยตรงกับความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารและตัวอาคารเอง ซึ่งการทรุดตัวของอาคารนั้นพบเห็นกันมาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด


ลักษณะการทรุดตัวของอาคารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบกับระบบฐานรากของอาคาร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. อาคารทรุดตัวในแนวดิ่ง ซึ่งแบ่งได้ 2 เป็นประเภทดังนี้
    • ฐานรากทั้งหมดในอาคารทรุดตัว ซึ่งเป็นการทรุดตัวของอาคารทั้งหลังใกล้เคียงกัน แต่มีการทรุดตัวมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ใช้เสาเข็มสั้นวางอยู่บนชั้นดินอ่อนมาก ซึ่งลักษณะการทรุดตัวประเภทนี้ จะไม่ค่อยพบรอยร้าวในโครงสร้างอาคาร

    • ฐานรากในอาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน เกิดจากฐานรากมีการทรุดตัวที่แตกต่างกันมาก แต่ลักษณะการทรุดตัวของอาคารยังคงรูปในแนวดิ่ง ซึ่งอาคารที่ทรุดตัวประเภทนี้มักจะพบรอยแตกร้าวบนผนังเป็นแนวเฉียงกลางผนัง

  2. อาคารทรุดเอียง ส่วนใหญ่เกิดจากการเยื้องศูนย์ของฐานรากอาคาร และเยื้องไปในทิศทางเดียวกัน
    หรือการทรุดเอียงของฐานรากที่อยู่บริเวณริมด้านนอกของอาคาร ทำให้การทรุดตัวของอาคารเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และทำให้อาคารด้านตรงข้ามมีลักษณะเหมือนยกขึ้น การทรุดตัวประเภทนี้มักจะไม่เกิดรอยร้าวบนผนัง หรือโครงสร้าง แต่รอยร้าวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณตอม่อหรือเสาเข็มของอาคารด้านที่ถูกยกขึ้น

    สาเหตุการทรุดตัว ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุดังนี้
    • เสาเข็มสั้นเกินไป
    • เสาเข็มบกพร่อง
    • ฐานรากเยื้องศูนย์
    • ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน
    • เกิดการเคลื่อนตัวของดิน
    • เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ตามความต้องการ


ติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบริการบ้านทรุด ต่อเติมทรุด ติดต่อเรา


การแก้ไขอาคารทรุด สามารถกระทำโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปรับโครงสร้างให้เพียงพอเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างที่มีปัญหา การกำหนดขนาด จำนวนเสาเข็มนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นดังนี้

  • คำนวณน้ำหนักลงฐานราก (Column Load) ที่จะทำการเสริมเสาเข็ม
  • เลือกชนิดของเสาเข็ม ขนาด และความยาวซึ่งพิจารณาได้จากข้อมูลดิน
  • คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มที่จะเสริมจากข้อมูลดิน ตามชนิด ขนาด และระดับความลึกของปลายเสาเข็มที่จะเลือกใช้
  • กำหนดจำนวนเสาเข็มที่จะเสริมในแต่ละฐานราก
  • กำหนดตำแหน่งที่จะเสริมเสาเข็ม
  • ทำการถ่ายน้ำนหักลงเสาเข็มที่เสริม

ประเภทของเสาเข็มสำหรับงานเสริมฐานราก
1. เสาเข็มเจาะ (Bored Pile)
2. เสาเข็มเหล็ก (Steel Pile)
3. เสาเข็มประกอบ (Composite Pile)

ซึ่งสามารถใช้วิธี Underpinning แก้ไขได้ โดยการเสริมฐานรากก็ทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมกันในบ้านเราก็จะเป็นการเสริมด้วยเสาเข็มขนาดเล็ก Mini Pile หรือบางท่านเรียก Micro Pile หรือ Segmental Pile

ตัวอย่างผลงานการต่อเติมเสริมฐานรากอาคาร แก้ไขอาคารทรุด
โดยทีมผู้ตรวจสอบอาคารและวิศวกรมากประสบการณ์

ผลการดำเนินงานทุกขั้นตอนของทีมวิศวกร N.S. Plus Engineering ผ่านการตรวจสอบ
คำนวณ และควบคุมที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้บ้านและอาคาร

  

 

เสาตอม่อ เกิดการระเบิด

บ้านไหนใต้ถุนสูง และมีน้ำขัง หรือมีความชื้นตลอดเวลา ต้องระวัง...!!!
เพราะจะทำให้ตอม่อใต้บ้านระเบิดได้ สาเหตุหลักที่ทำให้บ้านใต้ถุนสูงที่มีตอม่อ เกิดการระเบิด เกิดจาก

ต่อเติมทรุด


คลิก เพื่อดู

งานแก้ไขอาคารทรุด บริษัทชูคอนกรีต คอร์ปอเรชั่น ปทุมธานี

งานแก้ไขบ้านทรุดหมู่บ้านโฮมเพลส

แก้ไขอาคารทรุด อาคารพานิชย์ 4 ชั้น ทรุด บ้านบางขุนนนท์

ขอใบเสนอราคา

 


Visitors: 265,884