แก้ไขอาคารทรุด
ขั้นตอนการแก้ไขอาคารทรุด
1. เกิดการก่อสร้างผิดพลาด เช่น ติดตั้งเสาเข็มผิดขนาด
2. การออกแบบที่ผิดพลาด เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้
3. ต้องการยกอาคาร เช่นหนีน้ำ ยกให้สูงกว่าถนน
4. ต้องการทำห้องใต้ดิน
5. อาคารเอียงตัว หรือทรุดตัว
6. มีการก่อสร้างข้างเคียง แล้วทำให้ดินเคลื่อนตัว บ้านเอียง
7. เปลี่ยนแปลงการใช้งาน ทำให้น้ำหนักลงเสาเข็มเพิ่มมากขึ้น
8. ต่อเติมทรุด เนื่องจากเสาเข็มส่วนต่อเติมอยู่ในชั้นดินคนละชั้นกับตัวอาคารเดิม
แก้ไขอาคารทรุด
ปัจจุบันปัญหาการทรุดตัวของอาคาร เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งซึ่งมีผลโดยตรงกับความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร และตัวอาคารเอง ซึ่งการทรุดตัวของอาคารนั้นพบเห็นกันมาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ลักษณะการทรุดตัวของอาคารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบกับระบบฐานรากของอาคาร ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. อาคารทรุดตัวในแนวดิ่ง ซึ่งแบ่งได้ 2 เป็นประเภทดังนี้
1.1 ฐานรากทั้งหมดในอาคารทรุดตัว ซึ่งเป็นการทรุดตัวของอาคารทั้งหลังใกล้เคียงกัน แต่มีการทรุดตัวมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ใช้เสาเข็มสั้นวางอยู่บนชั้นดินอ่อนมาก ซึ่งลักษณะการทรุดตัวประเภทนี้ จะไม่ค่อยพบรอยร้าวในโครงสร้างอาคาร
1.2 ฐานรากในอาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน เกิดจากฐานรากมีการทรุดตัวที่แตกต่างกันมาก แต่ลักษณะการทรุดตัวของอาคารยังคงรูปในแนวดิ่ง ซึ่งอาคารที่ทรุดตัวประเภทนี้มักจะพบรอยแตกร้าวบนผนังเป็นแนวเฉียงกลางผนัง
2. อาคารทรุดเอียง ส่วนใหญ่เกิดจากการเยื้องศูนย์ของฐานรากอาคาร และเยื้องไปในทิศทางเดียวกัน หรือการทรุดเอียงของฐานรากที่อยู่บริเวณริมด้านนอกของอาคาร ทำให้การทรุดตัวของอาคารเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และทำให้อาคารด้านตรงข้ามมีลักษณะเหมือนยกขึ้น การทรุดตัวประเภทนี้มักจะไม่เกิดรอยร้าวบนผนัง หรือโครงสร้าง แต่รอยร้าวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณตอม่อหรือเสาเข็มของอาคารด้านที่ถูกยกขึ้น
สาเหตุการทรุดตัว ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุดังนี้
1. เสาเข็มสั้นเกินไป
2. เสาเข็มบกพร่อง
3. ฐานรากเยื้องศูนย์
4. ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน
5. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน
6. เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ตามความต้องการ
การแก้ไขอาคารทรุด
การแก้ไขอาคารทรุด สามารถกระทำโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปรับโครงสร้างให้เพียงพอเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างที่มีปัญหา การกำหนดขนาด จำนวนเสาเข็มนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นดังนี้
- คำนวณน้ำหนักลงฐานราก (Column Load) ที่จะทำการเสริมเสาเข็ม
- เลือกชนิดของเสาเข็ม ขนาด และความยาวซึ่งพิจารณาได้จากข้อมูลดิน
- คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มที่จะเสริมจากข้อมูลดิน ตามชนิด ขนาด และระดับความลึกของปลายเสาเข็มที่จะเลือกใช้
- กำหนดจำนวนเสาเข็มที่จะเสริมในแต่ละฐานราก
- กำหนดตำแหน่งที่จะเสริมเสาเข็ม
- ทำการถ่ายน้ำนหักลงเสาเข็มที่เสริม
ประเภทของเสาเข็มสำหรับงานเสริมฐานราก
1. เสาเข็มเจาะ (Bored Pile)
2. เสาเข็มเหล็ก (Steel Pile)
3. เสาเข็มประกอบ (Composite Pile)
ตัวอย่างผลงานการต่อเติมเสริมฐานรากอาคาร โดยทุกขั้นตอนผ่านการตรวจสอบ คำนวณ และควบคุมโดยวิศวกรเพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามหลักวิศวกรรม
เสาตอม่อ เกิดการระเบิด
เพราะจะทำให้ตอม่อใต้บ้านระเบิดได้ สาเหตุหลักที่ทำให้บ้านใต้ถุนสูงที่มีตอม่อ เกิดการระเบิด เกิดจาก
งานแก้ไขอาคารทรุด บริษัทชูคอนกรีต คอร์ปอเรชั่น ปทุมธานี
งานแก้ไขบ้านพักอาศัยทรุดหมู่บ้านโฮมเพลส
งานแก้ไขอาคารพานิชย์ 4 ชั้น ทรุด บ้านบางขุนนนท์