Load Test

เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ

1. Dial Gauge ขนาดก้านยาว 1 cm. วัดค่าความละเอียดได้ 0.01 mm.

 Load Test ทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุก Load Test ทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุก                       

 2. Magnetic Holder สำหรับยึดจับ Displacement Transducer และDial Gauge

 Load Test ทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุก Load Test ทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุก

3. เทอร์โมมิเตอร์ ใช้วัดอุณหภูมิขณะทำการทดสอบ

การวางน้ำหนักบรรทุกสามารถใช้วัสดุต่างๆ ได้แก่ น้ำ, ปูนซีเมนต์,อิฐบล็อก, หิน-ทราย ฯลฯ แต่วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ น้ำ เพราะว่าสามารถทำการวางและปลดน้ำหนักได้สะดวก รวดเร็วกว่าวัสดุอื่นๆ และขณะทดสอบหากพบว่าการแอ่นตัวสูงเกินไป และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถปลดน้ำหนักได้ทันที ก่อนที่จะเป็นอันตรายแก่โครงสร้าง

การวางน้ำหนักบรรทุกจะทำตามมาตรฐาน ACI 318-89 ซึ่งน้ำหนักบรรทุกสูงสุดสามารถหาได้จากสูตร

Total Load       =    0.85*(1.4*Dead Load + 1.7*Live Load)

Total Load       =    น้ำหนักบรรทุกรวม

Dead Load       =    น้ำหนักบรรทุกคงที่ของโครงสร้าง

Live Load         =    น้ำหนักบรรทุกจร

แบ่งการวางน้ำหนักเป็น 4 ขั้นๆ ละเท่าๆ กัน โดยมีลำดับการวางน้ำหนักบรรทุก

ดังนี้ 0% - 25% - 50% - 75% - 100%** - 50% - 0**

การทดสอบและบันทึกค่าการแอ่นตัว

  1. บันทึกค่าการแอ่นตัว (Initial Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature) ก่อนทำการทดสอบน้ำหนักบรรทุก
  2. ทำการเพิ่มน้ำหนักบรรทุก (Test load) เป็น 4 ขั้น โดยแต่ละขั้นจะเพิ่มน้ำหนักบรรทุกขั้นละ 25% ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุด(Maximum test load) จะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว (Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature)ในแต่ละขั้นที่คงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชม. ที่เวลา 0, 5, 15, 30 และ 60 นาที
  3. ที่น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Maximum test load) ที่มีเครื่องหมาย ** จะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 24 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว(Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature) ที่เวลา 0, 5, 15, 30 และ 60 นาที และต่อไปทุกๆ 1 ชม. จนครบ 24 ชม.
  4. ค่าการแอ่นตัวที่น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Maximum test load)และคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 24 ชั่วโมง จะเป็นค่า Initial deflectionหรือMaximumdeflection(ตามมาตรฐาน ACI318-89) หมายเหตุ ในขณะทำการทดสอบนั้น โครงสร้างต้องไม่มีความเสียหาย (Visible evidence of failure) เกิดขึ้น ความเสียหายของโครงสร้าง (Visible evidence of failure) ที่ว่าหมายถึง “ การแตกร้าว, การขยายตัว หรือมีขนาดการแอ่นตัว ของโครงสร้างที่มากเกินไปโดยสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน และอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยของโครงสร้างที่ทดสอบและโครงสร้างอื่นๆ
  5. ทำการปลดน้ำหนักบรรทุก (Rebound test load) โดยจะปลดน้ำหนักบรรทุกออก 50% ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุด    (Maximum test load) และจะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว    (Deflection)และอุณหภูมิ (Temperature) ในแต่ละขั้นที่คงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชม. ที่เวลา  0, 5, 15, 30 และ 60 นาที
  6. ปลดน้ำหนักบรรทุกที่เหลือออกจนหมด (ขั้นที่มีเครื่องหมาย ** แสดงไว้) จะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 24 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว(Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature) ที่เวลา 0, 5, 15,30 และ 60 นาที และต่อไปทุกๆ 1 ชม. จนครบ 24 ชม.
  7. ค่าการแอ่นตัวเมื่อปลดน้ำหนักบรรทุกออกทั้งหมดแล้ว (Rebound test load) และปล่อยให้คืนตัว 24 ชั่วโมง จะเป็นค่า Final  deflection
  8. คำนวณหาค่าการคืนตัว Recovery of deflection”มีค่าเท่ากับ ค่า Initial deflection ลบด้วยค่า Final  deflection
  9. นำค่าการแอ่นตัวที่ได้เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักบรรทุก(Load ; kg./m2.) กับค่าการแอ่นตัว (Total Deflection ; mm.) ของแผ่นพื้น และกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักบรรทุก (Load ; kg./m2.),เวลา(Time ; hr.) กับค่าการแอ่นตัว (Total Deflection ; mm.) ที่ตำแหน่งที่เกิดการแอ่นตัวมากที่สุด

ใบเสนอราคา

Visitors: 241,484