Home Inspection

คลังความรู้จากประสบการณ์ตรวจบ้านโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

1. วิธีแก้ไขท่อระบายน้ำอ่างล้างจานตัน

     การระบายน้ำของอ่างล้างจานไม่สะดวก เพราะเศษอาหาร สะสมอยู่ในท่อระบายน้ำ สามารถแก้ไขได้หลายวิธี ดังนี้                                                                     

1.ใช้ปั๊มยางอัดแรงดันเข้าไปในท่อในขณะที่มีน้ำอยู่ และใช้เศษผ้าอุดช่องอากาศด้านข้าง อ่างให้แน่น แรงดันของปั๊มจะทำให้เศษอาหารหลุดออก 

2.ถ้าเป็นท่อระบายน้ำที่ใช้เป็นโลหะเทน้ำร้อนจัด ๆ ลงไปมาก ๆ น้ำร้อนจะช่วยละลาย คราบไขมันและเศษอาหารที่ติดอยู่กับ ท่อหลุดออก จากนั้นราดน้ำเย็นตามลงไป และใช้ปั๊มยาง ช่วยอีกแรง   

3.ใช้น้ำยาแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตันหรือโซดาไฟเทลงไปในท่อ ปริมาณที่เหมาะสม ราดน้ำ ตามลงไปเล็กน้อยแล้วทิ้งไว้สักพักใหญ่ ๆ เศษอาหารก็จะหลุดออกมา การป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำอุดตัน สามารถทำได้โดย เทน้ำเกลือร้อน ๆ ลงในท่อระบาย น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ ระบายน้ำได้สะดวก ไม่มีกลิ่นเหม็น และไขมันไม่จับตัวเป็นก้อน ที่สำคัญควรทิ้งเศษอาหารก่อนทำการล้างจาน

...........................

 

2. ถังดักไขมัน

     คือ อุปกรณ์ที่ช่วยดักจับไขมันจากการล้างภาชนะและอุปกรณ์หุงต้มอาหาร ไม่ให้ไหลปนไปกับน้ำทิ้ง เนื่องจากไขมันจะลอยตัวอยู่ผิวน้ำทำให้ออกซิเจนละลายน้ำได้น้อย เป็นสาเหตุให้น้ำเน่าเสียและท่อระบายน้ำอุดตัน ถังดักไขมันมี 2 ประเภท คือ แบบตั้งบนพื้น และแบบฝังดินสำหรับถังดักไขมันในบ้าน ควรเลือกแบบตั้งนพื้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานและดูแลรักษา และควรเลือกขนาดของถังตามจำนวนของสมาชิกในบ้านดังนี้ 1-5 คน ควรใช้ถังขนาด 15 ลิตร และ 6-10 คนควรใช้ขนาด 30 ลิตร

ส่วนประกอบของถังดักไขมัน
1. ตะแกรงดักเศษอาหาร ทำหน้าที่กรองเศษอาหารที่ปนมากับน้ำทิ้ง
2. ส่วนแยกไขมัน น้ำและไขมันจะถูกแยกออกจากกันตามหลักการธรรมชาติที่ไขมันจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำ
3. ท่อระบายน้ำทิ้ง เป็นท่อระบายน้ำสำหรับน้ำที่แยกไขมันออกแล้วลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะท่อนี้จะติดตั้งลงไปลึกกว่าระดับไขมันที่ลอยอยู่ด้านบน เมื่อมีการระบายน้ำจากอ่างล้างจานน้ำที่ทิ้งมาใหม่จะผ่านกระบวนการแยกไขมัน และดันให้น้ำในถังเดิมไหลลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งสาธารณะ
4. ท่อระบายไขมัน ถังดักไขมันบางรุ่นจะมีท่อระบายไขมัน ติดตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทิ้งเพื่อให้ไขมันที่ลอยอยู่ด้านบนไหลออกมา


การติดตั้ง
   ติดตั้งท่อระบายน้ำทิ้งจากอ่างล้างจานเข้ากับถังดักไขมัน  แล้วติดตั้งท่อระบายน้ำของถังดักไขมันลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ

การดูและรักษา

1. ควรนำเศษอาหารในตะแกรงกรองเศษอาหารไปทิ้งทุกวัน เพื่อป้องกันอาหารบูดเน่า
2. ควรตัก หรือระบายไขมันที่ลอยอยู่เหนือน้ำออกเป็นประจำทุกสัปดาห์
3. ควรล้างถังดักไขมันอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน

 ...........................

 

3. สาย L และ N สลับตำแหน่ง

    เมื่อวันก่อนทางบริษัทได้ไปตรวจสอบบ้านให้กับลูกค้าที่หนึ่ง โดยได้ทำการตรวจสอบเต้ารับของบ้านทั้งหลัง (รูปทางซ้าย)พบว่า ไฟสีเขียวไม่ติด ตอนแรกคาดว่าอาจไม่ได้ทำการต่อสายกราวด์ หรือสายไฟสีน้ำเงิน(L) กับสายนิวทรอลสีขาวสลับกัน (N) จึงได้ทำการแกะออกมาดูพบว่า มีการต่อสายกราวด์ เรียบร้อย และสาย L ก็เป็นสีน้ำเงิน และสาย N ก็เป็นาสีขาวอยู่ในตำแหน่งถูกต้อง จึงได้ใช้ไขควงวัดไฟวัดที่สาย L ปรากฏว่าไม่มีไฟ แต่สาย N กลับมีไฟ...!!! แสดงว่าสาย L และ N ต่อสลับกัน จึงได้เปิดตู้ไฟ(ภาพขวา) พบว่า สายไฟจากมิเตอรืที่ต่อเข้าตู้ไฟมีการสลับตำแหน่งกัน โดยปกติสายไฟ (L) ต้องอยู่ขวามือ และสายนิวทรอล (N) ต้องอยู่ซ้ายมือ จึงได้แจ้งให้ทางโครงการเร่งทำการแก้ไข

      แม้ว่าการต่อสายไฟ (L) และ (N) จะสลับตำแหน่งกัน แต่การใช้งานของอุปกรณ์ก็ใช้งานได้ปกติ แต่มีความอันตรายมาก เช่น ถ้าสาย L กับ N สลับกัน เครื่องตัดไฟอาจจะไม่ทำงานได้ เพราะการทำงานของเครื่องตัดไฟ อาศัยการตรวจจับกระแสไฟที่ไหลเข้า (ทางสาย L) กับกระแสไฟที่ไหลออก (ทางสาย N) ซึ่งปกติต้องเท่ากัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่กระแสไหลออกน้อยกว่ากระแสไหลเข้า แสดงว่ามีการรั่วไหลในระบบเกิดขึ้น (เช่น ผ่านตัวคนลงดิน) และเครื่องจะตัดไฟเมื่อ กระแส N < กระแส L แต่ถ้าต่อสายสลับกัน กรณีเลวร้ายสุดคือ N > L ซึ่งถ้าเครื่องตรวจจับได้เฉพาะ N < L เท่านั้นถึงจะตัด ยังไงมันก็ไม่ตัดแน่นอน

...........................

 

4. แผ่นสะท้อนและฉนวนกันความร้อน

...........................

 

 5. การบำรุงรักษาถังเก็บน้ำดี

 
 
Visitors: 243,407