แก้ไขอาคารทรุดโดยการเสริมฐานรากหรือรื้อทิ้งสร้างใหม่ อันไหนคุ้มกว่ากัน..?

แชร์วิธีสังเกตอาคาร บ้านทรุด พร้อมสาเหตุและวิธีแก้ไขอาคารทรุด

แก้ไขอาคารทรุดโดยการเสริมฐานราก หรือรื้อทิ้งสร้างใหม่ อันไหนคุ้มกว่ากัน..?

หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เจ้าของบ้านหรืออาคารหลายคนไม่อยากเจอ นอกจากปัญหารอยรั่วซึม ผนังร้าว ประตูปิดไม่สนิท อีกเรื่องสำคัญก็คือปัญหาอาคารหรือบ้านทรุดตัวนั่นเอง เพราะเมื่อเกิดปัญหาอาคารทรุดหมายความว่าถึงเวลาที่เจ้าของต้องตัดสินใจแล้วว่า ควรจะรื้ออาคารทิ้งและสร้างใหม่ไปเลย หรือควรจะแก้ไขอาคารทรุดด้วยวิธีเสริมฐานรากดี วิธีไหนคุ้มค่ากว่า ถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ ลองพิจารณาไปพร้อมกับ N.S.PLUS ENGINEERING แล้วค่อยตัดสินใจอีกครั้ง

สังเกตวิธีการทรุดตัวให้เป็น แก้ไขอาคารทรุดได้ตรงจุดกว่า

  1. สังเกตรอยร้าวที่ผนังอาคารในแนวเฉียง 
    ลองสังเกตดูที่รอยร้าวตามผนังกำแพง หากพบว่ามีรอยร้าวในแนวเฉียงอาจเป็นสัญญาณว่า อาคารหรือบ้านเกิดการทรุดตัว ซึ่งเกิดจากการดึงของผนังทำให้ผนังกำแพงเกิดรอยแยก หากปล่อยทิ้งไว้ รอยแยกที่เป็นแค่เส้นเล็ก ๆ จะขยายกว้างขึ้น

    วิธีที่สามารถทำให้คุณตรวจสอบได้ว่ารอยร้าวเหล่านั้นมีการขยายตัวหรือไม่ ให้คุณวัดความกว้างของรอยร้าวบริเวณกึ่งกลาง และส่วนปลายของรอยร้าว และทำการจดบันทึกเอาไว้ หากพบว่ารอยร้าวนั้นเกิดการขยายกว้างขึ้น อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบอาคารหรือช่างมาดำเนินการแก้ไขอาคารทรุดทันที

  2. สังเกตรอยร้าวที่คานของโครงสร้าง
    ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำอีกว่าควรติดต่อช่างเพื่อแก้ไขอาคารทรุดโดยด่วน หากพบว่ามีรอยร้าวแนวตั้งบริเวณใต้ท้องคานและหลังคาน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาคารอาจเริ่มทรุดตัว เพราะรอยร้าวตามโครงสร้างเหล่านี้ เกิดจากการทรุดตัวของเสาแต่ละต้นที่ไม่เท่ากัน ทำให้โครงสร้างเกิดการรั้งจนปรากฏเป็นรอยร้าวออกมานั่นเอง

  3. สังเกตเห็นรอยร้าวที่ผนังกำแพงส่วนต่อเติม
    ส่วนใหญ่แล้วบ้านหรืออาคารที่ทำการสร้างเพิ่มเติมจะแยกโครงสร้างกับตัวอาคารเดิม เสาเข็มบริเวณที่ใช้ในส่วนต่อเติมจะสั้นกว่า ทำให้เกิดรอยแตกร้าวระหว่างรอยต่อของอาคารหลักและส่วนที่ต่อเติม หากรอยร้าวเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการใช้งานอาคาร อาจถึงขั้นต้องแก้ไขอาคารทรุดในภายหลังได้เลยทีเดียว

  4. สาเหตุอื่น
    นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าอาจไม่เกิดรอยแตกร้าวตามผนังอาคารก่อนอาคารทรุดตัวก็เป็นได้ หากมีการทรุดตัวเอียงไปในแนวระนาบเดียวกันทั้งอาคาร แต่อาจจะมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถสังเกตได้ เช่น กระเบื้องแตกร้าว กระเบื้องโก่ง ประตูติดขัดเปิด-ปิดไม่สนิท ลูกบอลกลม กลิ้งไปในทิศทางเดียวกัน น้ำในห้องน้ำ ไหลย้อนทิศไม่ลงรูระบาย เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดการทรุดตัว ต้องเตรียมแก้ไขอาคารทรุด

หลังจากที่ทราบวิธีสังเกตอาคารทรุดตัวไปแล้ว เรามาดูกันต่อว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้บ้านหรืออาคารเกิดการทรุดตัว

  • ขนาดของเสาเข็ม
    ขนาดของเสาเข็มมีส่วนทำให้บ้านหรืออาคารเกิดการทรุดตัว หากลงเสาเข็มไม่เพียงพอต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง หรือใช้เสาเข็มที่สั้นเกินไป ไม่ได้ลึกถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักได้ หรือเสาเข็มเจาะไม่สมบูรณ์และไม่ได้มีการตรวจสอบขณะทำการก่อนสร้าง ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลให้อาคารทรุดหลังจากใช้งานไปสักระยะ

  • คุณภาพของงานก่อสร้าง
    เรื่องคุณภาพของงานก่อสร้าง การตรวจเช็ก ตรวจสอบหรือควบคุมการก่อสร้าง เป็นอีกเรื่องที่เจ้าของอาคารควรให้ความสำคัญ เพราะหากลงเสาเข็มไม่ตรงทำให้เสาเข็มเยื้องศูนย์ หรือการตอกเสาเข็มไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เวลาตอกเสาเข็มไปในชั้นดินเกิดการหัก หรือการสร้างฐานรากและตอม่อไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เสาเข็มหลุดออกจากฐานราก ปัญหาเกิดจากการไม่ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งจะส่งผลถึงตัวโครงสร้างบ้านหรืออาคาร จนเกิดการทรุดตัวได้

  • การต่อเติม ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร
    การต่อเติม ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับตัวอาคาร ทำให้น้ำหนักลงเสาเข็มมากขึ้น อาจทำให้อาคารมีการทรุดตัวได้ หากจำเป็นต้องทำ ควรปรึกษาวิศวกร เพื่อตรวจสอบและอาจต้องเสริมกำลังโครงสร้างเดิมก่อน


ก่อนตัดสินใจแก้ไขอาคารทรุด ควรพิจารณาอะไรบ้าง

ก่อนการตัดสินใจว่า จะรื้ออาคารทิ้งทั้งหมดและค่อยสร้างใหม่ไปเลย หรือจะใช้วิธีเสริมฐานรากเพื่อแก้ไขอาคารทรุด ลองพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้ดูเสียก่อน

  • โครงสร้างของอาคารยังสภาพดีพอที่จะทำการเสริมฐานรากหรือไม่
    อันดับแรกที่ควรนำมาพิจารณาคือ ตัวโครงสร้างของอาคารยังคงสภาพดีอยู่ไหม ทำได้โดยการประเมินเบื้องต้นด้วยการสังเกตรอยร้าวตามผนังกำแพง สังเกตดูว่ามีรอยร้าวที่ใหญ่หรือลึกและเกิดขึ้นบริเวณคาน เสา พื้น หรือผนัง และการทรุดตัวไม่เท่ากันหรือไม่ หากพบความเสียหายเหล่านี้ แนะนำว่าควรให้วิศวกรโครงสร้าง เข้ามาช่วยประเมินโครงสร้างอาคารว่าสามารถแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานรากได้หรือไม่

  • พื้นที่ใช้สอยเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่
    หากจะรื้อทิ้งและสร้างใหม่ สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารเพียงพอต่อการใช้งานตามความต้องการของสมาชิกในบ้านหรือไม่หากมีสมาชิกที่ใหม่เพิ่มเข้ามา เช่น เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ แต่หากพิจารณาแล้วว่าพื้นที่ใช้สอยเหลือเฟือและไม่ต้องการสร้างใหม่ คุณสามารถเลือกแก้ไขอาคารทรุดด้วยวิธีเสริมฐานรากได้

    โดยอย่าลืมว่า หากจะสร้างอาคารใหม่จะต้องดูกฎหมายระยะร่น และพื้นที่รอบ ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถสร้างบ้านขนาดเดิมได้หรือไม่ หรือโดนระยะร่น เหลือที่น้อยลง อีกทั้งการสร้างบ้านหรืออาคารใหม่ แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านโดยรอบ ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีและถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจสร้าง

  • งบประมาณ
    สิ่งสำคัญที่สุดคือ เงินในกระเป๋าของเรา เพราะการรื้ออาคารและสร้างใหม่ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานราก ต้องไม่ลืมว่าขั้นตอนการรื้อถอนก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน

ทั้งนี้หากพิจารณาปัจจัยทั้งหมดแล้วพบว่าใช้วิธีแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานรากดีกว่า เรามาดูกันว่ามีสิ่งใดบ้างที่คุณต้องคำนึงถึงหากเลือกแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานราก


ข้อเท็จจริงในการแก้ไขอาคารทรุด ด้วยการเสริมฐานรากมีอะไรบ้าง

สำหรับการแก้ไขอาคารทรุดหรือแก้ไขบ้านทรุด มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นคือ การเสริมฐานราก ด้วยการเสริมเสาเข็มและฐานรากใหม่ มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ไม่เท่ากับการรื้ออาคารและสร้างใหม่ โดยสาเหตุที่ทำให้งานแก้ไขอาคารทรุดจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่สูง มีดังนี้

  • ความยากของงาน
    การเสริมเสาเข็มและฐานรากเพื่อแก้ไขอาคารทรุดมีความยากอยู่พอสมควรเมื่อเทียบกับงานก่อสร้างอื่น ๆ ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ และมีความเสี่ยงสูงในการทำงาน

  • ปริมาณงานเสริมฐานราก
    การเสริมฐานรากเหมือนกับการทำงานก่อสร้างอาคารคูณสอง เช่น ตำแหน่งฐานรากเดิม อาจใช้เสาเข็ม 1 ต้น แต่การแก้ไขมักจะต้องใช้เสาเข็ม 2 ต้น ฐานรากจึงจำเป็นต้องขยายจากเดิมที่หุ้มเสาต้นเดียว ต้องขยายให้หุ้มเสาเข็มได้ทั้ง 2 ต้น หรืองานดินที่เคยขุดตำแหน่งที่ตอกเสาเข็ม แต่การแก้ไขอาจต้องขุดเป็นอุโมงค์เข้าไปใต้ตัวอาคาร ต้องขุดลึกและเป็นระยะทางที่ยาว และอาจต้องติดตั้งระบบป้องกันการพังทลายของดินเพิ่มขึ้น เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

  • เครื่องมือและอุปกรณ์
    เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานราก ต้องเป็นเครื่องมือและเสาเข็มชนิดพิเศษ ต้องมีความปลอดภัยและมีความละเอียดสูง

  • แรงงาน
    สำหรับแรงงานในการแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานราก ต้องใช้ช่างที่ชำนาญการเป็นพิเศษ ในการควบคุมดูแลการแก้ไขอย่างใกล้ชิด เช่น วิศวกรที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างและควบคุมงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการแก้ไขอาคารทรุดด้วยการเสริมฐานรากจะขึ้นอยู่กับจำนวนของฐานราก หรือคิดเป็นเพียง 40% ของการรื้ออาคารทิ้งและสร้างใหม่

หากคุณกำลังประสบกับปัญหาอาคารหรือบ้านทรุด และต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขซ่อมแซม บริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร พร้อมบริการแก้ไขอาคารทรุด ซ่อมโครงสร้าง ควบคุมงานก่อสร้าง โดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย มั่นใจในบริการด้วยมาตรฐานและมีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย

สนใจติดต่อสอบถามเกี่ยวกับบริการแก้ไขอาคารทรุดเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 245,723