ทำไมต้องตรวจสอบอาคาร ?

ความจำเป็นที่ต้องทำการตรวจสอบอาคารทุกๆ 5 ปีเพราะอะไร

ทำไมต้องตรวจสอบอาคาร

อาคาร ตึกสูงขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล หรือแม้แต่ป้ายโฆษณาที่มีขนาดใหญ่ก็มีความจำเป็นที่ต้องทำการตรวจสอบอาคารอย่างเป็นประจำ หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมอาคารหรือตึกใหญ่ ๆ จึงควรต้องตรวจสอบอาคารเป็นประจำด้วย ตรวจครั้งแรกก่อนโอนครั้งเดียวไม่ได้หรือ วันนี้ N.S.PLUS ENGINEERING เรารวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณมาให้ในบทความนี้

การตรวจสอบอาคารคืออะไร?

การตรวจสอบอาคาร คือ การตรวจสภาพอาคารทางด้านความคงทน แข็งแรง รวมไปถึงระบบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร โดยที่ผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต สุขภาพ ร่างกายและทรัพย์สินของผู้ที่ใช้ประโยชน์จากอาคาร

การตรวจสอบอาคารมีทั้งหมดกี่ประเภท?

อ้างอิงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะสามารถแบ่งการตรวจสอบอาคารออกได้ทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่

  • การตรวจสอบอาคารขนาดใหญ่
    จะเป็นการตรวจสอบโครงสร้างของอาคารและระบบทุกระบบที่อยู่ภายในอาคาร โดยให้ทำการตรวจสอบทุก ๆ 5 ปี และในการตรวจสอบอาคารใหญ่ทุกครั้ง ผู้ตรวจจำเป็นต้องจัดทำแผนการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการตรวจบำรุงอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร รวมไปถึงคู่มือในการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวให้กับเจ้าของอาคาร เพื่อเอาไว้เป็นแนวทางในการตรวจบำรุงรักษาอาคาร และเพื่อให้เก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในการตรวจสอบอาคารทุกครั้ง
    • แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี และแนวทางการตรวจสอบตามแผนดังกล่าวให้กับเจ้าของอาคาร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ อาคาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารประจำปี"

  • การตรวจสอบอาคารประจำปี
    • การตรวจสอบอาคารประจำปีเป็นการตรวจสอบตามแผนการที่จำเป็นต้องตรวจทั้งตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เป็นประจำทุกปีตามที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ให้ในการตรวจสอบอาคารใหญ่

ประเภทของอาคารที่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบมีอะไรบ้าง?

การตรวจสอบอาคารเป็นเรื่องที่จำเป็นและต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุ ซึ่งในปัจจุบันมีประเภทอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบอยู่ทั้งหมด 9 ประเภท ดังนี้

  1. อาคารสูง
    อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป โดยวัดความสูงจากระดับพื้นดินที่ทำการก่อสร้างไปจนถึงดาดฟ้าของตัวอาคาร สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยา ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ทำการก่อสร้างไปจนถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด


  2. อาคารขนาดใหญ่เป็นพิเศษ
    อาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เช่น อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารเป็นที่อยู่อาศัย หรือเป็นที่ประกอบกิจการประเภทเดียว หรือหลายประเภท โดยพื้นที่รวมท้้งหมด 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป


  3. อาคารที่เป็นชุมนุมคน
    คือ อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่บุคคลสามารถเข้าไปภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการชุมนุม โดยมีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป หรือสามารถชุมนุมได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป


  4. โรงมหรสพ
    โรงมหรสพ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร หรือที่ที่ใช้สำหรับการแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเปิดให้สาธารณชนสามารถเข้ามาชมการแสดงได้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าบัตรการแสดงหรือไม่ก็ตาม


  5. โรงแรม
    ถ้าว่ากันตามกฎหมาย จะนับอาคารสูงที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องต่ออาคารขึ้นไปว่าเป็นโรงแรม


  6. อาคารชุด
    อาคารชุดหรืออาคารที่มีอาการอยู่อาศัยรวมกันหลายครอบครัว โดยแบ่งเป็นหน่วยแยกออกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป


  7. อาคารโรงงาน
    ตามกฎหมายต้องเป็นโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตร.ม. ขึ้นไป


  8. ป้ายโฆษณา
    ป้ายหรือสิ่งก่อสร้างที่ติดตั้งและมีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม. ขึ้นไป หรือเป็นป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของตึกสูงหรืออาคาร ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตร.ม. ขึ้นไป


  9. สถานบริการ
    ตามกฎหมายต้องเป็นสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตร.ม. ขึ้นไป


ทำไมถึงต้องมีการตรวจสอบอาคาร?

คำตอบเลยคือ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ทวิ และเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคาร เพราะหากขาดการตรวจสอบอาคารอย่างรัดกุมและสม่ำเสมอ อาจมีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยก่อนตรวจสอบอาคารจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลและเอกสารดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลทั่วไปของอาคาร อย่างเช่น ชื่ออาคาร สถานที่ตั้ง ประวัติ ระบบต่าง ๆ ภายในอาคาร
  • เอกสาร เช่น ใบอนุญาตก่อสร้าง ใบรับรองการก่อสร้างหรือ อ.6 หรือเอกสารทางราชการที่แสดงให้เห็นว่าได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง
  • แบบแปลนอาคาร เพื่อเอาไว้ตรวจสอบตามลักษณะของอาคาร โดยแปลนต้องมีการแสดงตำแหน่งและมิติของห้องต่าง ๆ ตำแหน่ง
  • ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ลิฟต์ ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร
  • เอกสารคู่มือสำหรับการตรวจสอบอาคาร เช่น รายการตรวจสอบอาคารตามกฎกระทรวงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  • อุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นในการประกอบการตรวจสอบ เช่น กล้องถ่ายรูป ตลับเมตร ไฟฉาย ฯลฯ

วิธีการตรวจสอบอาคารต้องทำอย่างไร

  1. ทำการจัดหาผู้ตรวจสอบอาคารหรือบริษัทที่รับตรวจสอบอาคาร โดยต้องเป็นบริษัทหรือผู้ตรวจสอบที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง

  2. ทำการจัดทำแบบแปลนเพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบอาคาร โดยแปลนพื้นทุกชั้นจะต้องแสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ

  3. บริษัทหรือผู้ตรวจสอบอาคารจะทำการตรวจสอบแบบและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น รายงานการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เช่น ลิฟต์ จากนั้นจึงจะทำการเข้าตรวจสอบอาคารตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

  4. หลังจากทำการตรวจสอบอาคารเรียบร้อย ผู้ตรวจสอบหรือบริษัทที่รับตรวจสอบอาคารต้องจัดทำรายการผลการตรวจสอบให้กับเจ้าของอาคาร

  5. หากบริษัทที่ทำการตรวจสอบอาคาร ประเมินแล้วว่าอาคารมีความปลอดภัยตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะทำการรองรับรายงานผลการตรวจสอบอาคาร แต่ในกรณีที่อาคารดังกล่าวไม่เข้ากฎเกณฑ์ความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ ผู้ตรวจจะต้องแจ้งให้เจ้าของตึกหรือผู้ดูแลอาคารทราบ เพื่อทำการปรับปรุง ซ่อมบำรุงตามรายการ

  6. เจ้าของตึกหรือเจ้าของอาคาร ต้องทำการจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบอาคารให้กับสำนักการโยธา พิจารณาต่อไป

สำหรับเจ้าของตึก เจ้าของโรงงาน หรืออาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบอาคาร สามารถเรียกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างบริษัท N.S.PLUS ENGINEERING ได้ทันที เพราะเราคือผู้ตรวจสอบอาคารที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจบ้าน ตรวจสอบอาคาร คุมงานก่อสร้างโดยทีมวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะทาง ประสบการณ์ที่สูง และอุปกรณ์ที่ทันสมัย

บริการของเรา อาทิ ตรวจคอนโด ตรวจบ้านก่อนโอน ไปจนถึงงานซ่อมโครงสร้าง แก้ไขอาคารทรุด บ้านทรุด ต่อเติมทรุด โดยมีการทดสอบเสาเข็มและทดสอบคอนกรีต เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจได้ในบริการที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย

สนใจใช้บริการหรือติดต่อสอบถามเรื่องตรวจสอบอาคาร ได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 280,620