Compressive Strength
การทดสอบกำลังรับแรงอัดประลัยคอนกรีตโดยวิธีทำลาย(Standard Test Method for Compressive Strength of Concrete)
ขั้นตอนการทดสอบ
![]() |
1. ตรวจสอบตำแหน่งเหล็กเสริม ในโครงสร้างด้วย Ground Penetrating Radar (GPR) เพื่อป้องกันไม่ให้เจาะโดนเหล็ก หากตัวอย่างที่ได้มีเหล็ก ให้ทำการเจาะใหม่ |
![]() |
2. ติดตั้งเครื่องเจาะคอนกรีต ในตำแหน่งที่จะทำการเจาะเก็บตัวอย่างคอนกรีต |
![]() |
3. ทำการเจาะคอนกรีต ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ ในขั้นตอนนี้ต้องเจาะด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้โดนเหล็กและการนำแท่งตัวอย่างออกมาต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแตกหักเสียหายและตัวอย่างที่เจาะทรงกระบอกต้องมีความสูงต่อขนาเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 เท่า |
![]() |
4. เก็บตัวอย่างคอนกรีต โดยมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยต้องเก็บด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสียหาย |
![]() |
5. นำแท่งตัวอย่างไปทดสอบที่ห้องปฎิบัติการ |
![]() |
6.บันทึกผลการทดสอบ หลังจากทดสอบจะได้ค่าแรงกดสูงสุด ณ จุดวิบัติ และพื้นที่หน้าตัดคอนกรีตที่รับน้ำหนักของตัวอย่างทดสอบ กำลังรับแรงอัดประลัย (ksc) = แรงกดสูงสุด ณ จุดวิบัติ (kg)/พื้นที่หน้าตัดคอนกรีต (sq.cm) |
ตัวอย่างผลการทดสอบกำลังรับแรงอัดประลัยคอนกรีต
ตารางแสดงค่าคงที่สำหรับปรับแก้ค่าความต้านทานแรงอัดสำหรับตัวอย่างที่ได้จากการเจาะ
อัตราส่วนความสูงต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวอย่างที่เจาะ | ตัวคูณสำหรับแก้ไขค่ากำลังต้านทานแรงอัด |
1.75 | 0.98 |
1.50 | 0.96 |
1.25 | 0.93 |
1.00 | 0.87 |
*อ้างอิงมาตรฐาน มยผ.1210-50 มาตรฐานการทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดของคอนกรีต (Standard Test Method for Compressive Strength of Concrete)
**เกณฑ์การประเมินคุณภาพคอนกรีตที่เจาะมาทดสอบตาม ACI 318-99 ระบุว่าโครงสร้างคอนกรีตที่มีกำลังอัดผ่านเกณฑ์ก็ต่อเมื่อค่ากำลังอัดจากก้อนตัวอย่างมีค่าดังนี้
1. กำลังอัดจากการทดสอบก้อน Core 3 ก้อนจะต้องได้ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 85 % ของกำลังอัดรับรอง
2. ค่ากำลังอัดของก้อนตัวอย่างแต่ละก้อนจะต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 75 % ของกำลังอัดรับรอง